ทำไม GPS ถึงพาหลงทาง


เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใช้งานกับการทำงานของระบบ GPS ว่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหนนั้น

สาเหตุที่ทำให้การทำงานของระบบนำทาง GPS นั้นทำงานผิดพลาดหรือเพี้ยนไป หลักๆจะมีอยู่ 4 ข้อใหญ่ๆ คือ

1. สภาพอากาศและสภาพภูมิทัศน์

เนื่องจากการรับ-ส่ง สัญญาณจีพีเอสนั้น เป็นการส่งในรูปสัญญาณวิทยุ ดังนั้นหากสภาพอากาศไม่ดี เช่น วันที่ฟ้าปิด มีเมฆมาก มีพายุ ฝนฟ้าคะนอง รวมทั้งกรณีที่อยู่ในที่อับสัญญาณ เช่น อยู่ในบริเวณอาคาร อยู่บนดาดฟ้า ชั้นใต้ดิน ลิฟต์ ลานจอดรถ หรือ ใต้ทางด่วน ต่างๆ จะมีผลทำให้สัญญาณจากตำแหน่งที่รับค่าได้นั้น อาจคลาดเคลื่อนประมาณ 20 เมตร (ข้อมูลอ้างอิง : support google) ส่งผลให้ตำแหน่งปัจจุบันของเราที่ซอฟท์แวร์ทราบนั้นผิดไป ทำให้การนำทางผิดเพี้ยนไปด้วยจากเส้นทางที่ควรจะเป็น

2. ซอฟท์แวร์

ขึ้นอยู่กับว่าซอฟท์แวร์ที่ใช้นั้นมีความฉลาดมากน้อยเพียงใดในการระบุตำแหน่ง โดยการใช้งานระบบนำทาง GPS นั้น ผู้ใช้งานต้องเป็นผู้ตั้งค่าการนำทางต่างๆ ว่าต้องการให้นำทางไปยังจุดใด และก็จำเป็นต้องเลือกเส้นทางที่ต้องการใช้ด้วย เช่น  ตั้งให้ค้นหาเส้นทางที่รถยนต์สามารถไปได้ เพราะสำหรับระบบนำทางแล้วมันมีเส้นทางทุกรูปแบบ ทั้งทางเดินเท้าหรือทางจักรยานก็ใช่ นอกจากนี้แล้วการเลือกเส้นทางที่สั้นที่สุดเพื่อไปยังเป้าหมาย ผู้ใช้งานก็สามารถกำหนดได้เช่นกัน เส้นทางที่ไปถึงเป้าหมายที่สั้นที่สุด ในบางครั้งก็ไม่ใช่เส้นทางที่สะดวกหรือสามารถใช้ในการเดินทางได้เร็วที่สุด เพราะทางบางที่ก็แคบหรือรถติด หรือบางครั้งก็เป็นทางที่สามารถเดินรถได้แค่ทางเดียว ด้วยเหตุผลเช่นนี้แล้วควรดูให้ดีเวลาระบุเป้าหมายและเลือกเส้นทางในการใช้งาน เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาและเสียโอกาสในหลายๆอย่าง

3. แผนที่ที่ไม่มีการอัพเดท

เนื้อหาของแผ่นที่ควรจะมีการอัพเดทอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน โดยการอัพเดทต้องอัพเดทพวกเส้นทางที่ใช้สำหรับคนเดิน หรือผ่านได้เฉพาะรถจักรยานหรือรถขนาดเล็ก เส้นทางไหนเป็นเส้นทางที่สามารถเดินรถได้แค่ทางเดียว ทั้งนี้ทั้งนั้นการอัพเดทแผนที่นี้ ทางผู้จำหน่ายอุปกรณ์ระบบนำทางจะเป็นฝ่ายแจ้งให้ลูกค้าไปรับบริการอัพเดทเอง แต่ความถูกต้องของแผนที่ก็ยังขึ้นอยู่กับบริษัทที่จัดทำแผนที่ ที่ทางผู้ให้บริการเลือกมาใช้งานด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วความน่าเชื่อถือของโปรแกรมและแบรนด์ต่างๆนั้น ผู้ใช้งานก็ต้องเปรียบเทียบในตลาดดูด้วยว่ายี่ห้อใดมีความน่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพที่ดีกว่ากัน

4. วิจารณญาณของผู้ขับขี่

ผู้ใช้งานระบบนำทางจีพีเอสนั้นต้องมีวิจารณญาณในการขับขี่ด้วย ต้องพิจารณาด้วยตัวเองด้วยว่าทางนั้นสามารถใช้ในการเดินทางได้หรือไม่ ไม่ใช่ว่าอุปกรณ์นำทางบอกให้ก็ไปตามที่อุปกรณ์แนะนำไปอย่างเดียว เพราะด้วย 3 เหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้ว มีสิทธิ์ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ตลอดเวลา ดังนั้นแล้วถ้าหากเจอเส้นทางที่พิจารณาแล้วว่าไม่น่าใช้ในการเดินทางได้ ให้ขับไปทางหลักก่อน โดยระบบจะทำการหาเส้นทางใหม่ที่ใช้ในการเดินทางให้เราเอง

สัญญาณคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการแต่ละค่ายมือถือในไทย

การที่ผู้ให้บริการมีคลื่นความถี่ครบทุกรูปแบบ ก็หมายความว่า ลูกค้าจะได้ใช้คลื่นในย่านต่าง ๆ ได้เต็มประสิทธิภาพ

เปรียบเทียบความถี่ที่แต่ละค่ายถือครองอยู่

ข้อมูลอ้างอิง : https://www.telecomlover.com/2021/01/14/new700mhz/

 

จะเห็นว่า AIS มีคลื่นความถี่ที่ครอบคลุมทั้งย่านสูง กลาง ต่ำ โดยมีปริมาณความจุที่สูงกว่าทุกราย โดยสาเหตุที่ลูกค้ามีหลากหลายประเภท การใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดอย่างคลื่นความถี่ให้ตรงวัตถุประสงค์กับการใช้งาน เป็นการจัดสรรให้เกิดประโยชน์เพื่อประสิทธิภาพโครงข่ายโดยรวมที่ดีที่สุด ซึ่งแอพพลิเคชั่นที่ตอบโจทย์กับผู้ประกอบทุกอาชีพ ณ ปัจจุบัน ต้องบอกเลยว่าใช้สัญญาณ GPS ในการระบุตำแหน่ง และ พิกัดทั้งนั้น เพื่อให้ลูกจ้าง พนักงาน ลูกน้อง หรือ แม้กระทั่งผู้ประกอบการเอง ได้ทำการลงเวลาเข้า – ออกงานออนไลน์ และ หนึ่งในนั้นของยกตัวอย่าง Application ที่ชื่อ Jarviz

Feature Check In ของ Jarviz

ต้องบอกเลยว่าเป็นแอพที่มีความแม่นยำของตำแหน่งพิกัด ได้ดีกว่าแอพอื่นๆ แถมผู้ใช้ยังตรวจสอบตำแหน่งพิกัดของแผนที่ ในแอพ ได้ด้วยตัวเองอีกด้วย เพียงแค่ Enable Check In Setting ที่หน้า Settings ในมือถือ แล้วในหน้า Check In ก็จะปรากฏ Lat Long โดยสามารถนำ Lat Long นี้ไปตรวจสอบใน Google Map ก็จะพบว่าเป็นตำแหน่งเดียวกัน

 

วิธีการตรวจสอบ Lat Long

ให้นำ Lat Long ที่แสดงในแอพ Jarviz ที่หน้า Check In ไปค้นหาใน Google Map

 

ดังนั้น จะเห็นว่า ตำแหน่ง และ พิกัด ของแอพ Jarviz และ Google Map มีตำแหน่งที่เดียวกัน

*** สนใจสมัครใช้บริการ Application Jarviz ฟรีได้ที่ Link นี้ http://www.jarvizapp.com/register/ ***

Related Posts